วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มที่ ๔ มหาเวสสันดรชาดก

มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก

มหาเวสสันดรชาดก

ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง(หน) มีพระคาถา 90 คาถาเพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์คือ เพลงทยอยโอด
จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อที่จะนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาสอน
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นร่ายยาว
ที่มา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกเป็นเรื่องหนึ่งใน ทศชาติชาดก เรียกว่า พระเจ้าสิบชาติ
ชาดกในบาลีคือ ชาตะ  
ประเภทของชาดกมี2ประเภท
1.นิบาตชาดก เป็นชาดกที่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มี 550เรื่อง
1คาถา เรียกว่า เอกนิบาตชาดก 2 คาถาเรียกว่า ทุกนิบาตชาดก 3 คาถา เรียกว่า ติกนิบาตรชาดก 4 คาถา เรียกว่า    จตุกนิบาตชาดก 5 คาถา เรียกว่า ปัญจกนิบาตชาดกและ 80 คาถา เรียกว่า อสีติบาตรชาดก ชาดกที่มีเกิน 80 คาถาขึ้นไป เรียกว่ามหานิบาตชาดก
มหานิบาตชาดก10เรื่อง เรียกว่า ทศชาติชาดก หรือ พระเจ้าสิบชาติ
เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว
2 .ปัญญาสชาดก เป็นชาดกนอกนิบาต จากนิทานพื้นบ้านมี 50เรื่อง มีอธิบายไว้ใน มหาชาติคำหลวง
ประเพณีการเทศน์มหาชาติ
มีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาปกตินิยมเทศน์มหาชาติระหว่างเดือน 12(พฤศจิกายน) กับเดือนอ้าย (ธันวาคม)
การแปลมหาชาติ
1มหาชาติคำหลวง เป้นมหาชาติปลฉบับแรกสำหรับสวดให้พุทธศาสนิกชยฟัง คำประพันธ์ที่ใช้มี โคลง ร่าย ฉันท์ กาพย์(สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)
2กาพย์มหาชาติ แต่งเผ้นร่ายยาว ใช่สำหรับเทศน์ แต่ยาวเกินไปไม่สามารถเทศน์จบภายในวันเดียวได้ (สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม)
3.มหาชาติกลอนเทศน์เป้นมหาชาติแปลสำหรับเทศนืให้จบภายในวันเดียวแต่งด้วยร่ายยาวได้รับยกย่องจากวรรคดีสโมสร ใน ร.6 ให้เป็นยอดวรรณคดีประเภทกลอนเทศน์กระทรวงการศึกษานำมาเป็นแบบเรียนอ่านต่อ